https://www.high-endrolex.com/48

https://www.high-endrolex.com/48

การโอนรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง และข้อดี-ข้อเสียของ การโอนลอย | โอ๊ด-อาร์ต โฮมคาร์

การโอนรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง และข้อดี-ข้อเสียของ การโอนลอย

โดย โอ๊ด-อาร์ต โฮมคาร์
แชร์
Share to Line
Share to Twitter Share to Facebook
การโอนรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง และข้อดี-ข้อเสียของ การโอนลอย
อัปเดต: วันที่ 1 ม.ค. 13 เวลา 16:22 น.
เข้าชม: 3,509 ครั้ง

การโอนรถยนต์ นั้น หลายท่านอาจเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยาก ใช้เวลานาน แต่ที่จริงแล้ว การโอนกรรมสิทธิ์รถส่วนบุคคลในปัจจุบันสะดวกกว่าที่คุณคิด และไม่ได้ใช้เวลานานเป็นวันเหมือนในอดีต

ทั้งนี้ การโอนรถ เป็นการโอนกรรมสิทธิ์จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในรถซึ่งต้องเป็นรถที่จดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว แต่การโอนสิทธิครอบครองที่จดทะเบียนแล้ว อาทิ การเปลี่ยนผู้เช่าซื้อ ทางระบบทะเบียนถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรายการเท่านั้น

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการโอนรถยนต์ส่วนบุคคล

- หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถ คือเอกสารหลักฐานสำคัญที่ขาดไม่ได้

- บัตรประชาชนของเจ้าของเดิม หรือ นาย ก. ซึ่งควรสำเนามาให้เรียบร้อย (เอกสารที่ต้องทำสำเนา แนะนำว่าเตรียมมาหลาย ๆ ฉบับก็ได้ เผื่อมีการเซ็นผิดพลาดจะได้ไม่ลำบากหาที่ถ่ายเอกสารใหม่)

สำหรับกรณีที่เรารับโอนรถยนต์จากคนที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่น รถยนต์ของญาติผู้ใหญ่ที่เพิ่งเสียชีวิตไป โดยท่านได้แจ้งความจำนงไว้ว่าจะยกให้เป็นมรดกของลูกหลานคนไหน ก็ต้องมี ใบมรณบัตร และ หนังสือ พินัยกรรม หรือ หนังสือราชการ คำสั่งศาล ที่มีข้อความ ที่มีการระบุว่ายกรถยนต์คันนี้ให้ทายาทคนใดหรือยกให้แก่ใคร เป็นต้น

ส่วนกรณี เป็นนิติบุคคล ต้องใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม มีเอกสารดังนี้

- ในกรณีผู้โอน และหรือ ผู้รับโอนไม่ได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง ให้นำหนังสือมอบอำนาจ พร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ

- สัญญาซื้อขาย พร้อมใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี

- แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งลงรายละเอียดและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน

 

ค่าธรรมเนียม การโอนรถยนต์

ในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ ว่าประชาชนผู้ใช้บริการโอนรถยนต์ส่วนบุคคลต้องมีค่าใช้จ่าย 5 หมวด ดังนี้

เงิน 5 บาท สำหรับค่าหนังสือ คำขอ ของทางราชการ

เงิน 100 บาท สำหรับ ค่าธรรมเนียมการโอนรถยนต์ส่วนบุคคล

เงิน สำหรับ ค่าอากรแสตมป์ ในสัดส่วนที่เพิ่มตามราคาที่มีการประเมินรถไว้ กล่าวคือ ค่าอากรแสตมป์ 500 บาท ต่อ รถมูลค่า 1 แสนบาท

เงิน 200 บาท สำหรับค่าป้ายทะเบียน กรณีนี้ จะจ่ายเฉพาะผู้ที่ต้องการเปลี่ยนป้ายฯ

เงิน 100 บาท สำหรับค่าทำเล่มทะเบียนใหม่ กรณีที่เล่มทะเบียนชำรุดฉีกขาด-เก่า

ขั้นตอน การโอนรถยนต์

เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนในการโอนรถ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1 กรอกแบบฟอร์มคำขอและรับโอนที่ส่วนงานทะเบียนสำนักงานขนส่ง

2 เราต้องนำรถเพื่อรับการตรวจสภาพรถ ที่งานตรวจสภาพรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด

3 เมื่อตรวจสภาพรถเสร็จ ก็ยื่นเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ และชำระค่าธรรมเนียมที่งานทะเบียนรถ

4 รับคู่มือจดทะเบียนรถ ใบเสร็จ เครื่องหมายเสียภาษี แผ่นป้ายทะเบียนรถ

การโอนลอย

การโอนลอย คือการที่เจ้าของรถ ขายรถให้กับผู้ซื้อ ซึ่งเจ้าของรถไม่ได้ไปโอนที่ขนส่งด้วยตัวเอง แต่ใช้วิธีเซ็นชื่อบนเอกสาร ซึ่งเอกสารในชุดโอนลอยที่ต้องเซ็นชื่อ ประกอบไปด้วย เล่มรถ , แบบคำขอโอนและรับโอน , หนังสือมอบอำนาจ , สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ และ สำเนาทะเบียนบ้าน

อย่างไรก็ตาม ข้อดีข้อเสียของการโอนลอย มีดังนี้

ข้อดีของการโอนลอย การโอนลอย เป็นวิธีที่สะดวกสำหรับเต๊นท์รถ เพราะไม่จำเป็นต้องโอนรถมาเป็นชื่อของเต๊นท์ แต่สามารถส่งมอบเอกสารต่อให้กับผู้ซื้อเพื่อให้ดำเนินการต่อได้เลย

ข้อเสียของการโอนลอย หากโชคร้ายไปเจอกับผู้ซื้อที่ไม่โปร่งใส หรือมีเจตนากระทำผิด อาจก่อให้เกิดปัญหากับผู้ขายในภายหลังได้ เช่น ผู้ซื้อไม่ดำเนินการชำระภาษีรถประจำปี, รถเกิดอุบัติเหตุ, รถถูกนำไปก่ออาชญากรรม ฯลฯ เมื่อตรวจสอบกับระบบทะเบียน จะยังคงปรากฏชื่อเจ้าของรถรายเดิมนั่นเอง

 

นอกจากนี้ หากใช้วิธีการโอนลอย จะทำให้ผู้ซื้อไม่อาจตรวจสอบความถูกต้องของรถได้โดยสมบูรณ์ว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมาหรือไม่ หรือกรณีรถถูกเปลี่ยนเครื่องหรือเลขตัวถังโดยไม่ได้ทำการแจ้งลงเล่ม ก็อาจทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถโอนรถเป็นชื่อของตนได้

รถบ้านมือสองรุ่นแนะนำ
บทความล่าสุด

สู้ทุกคัน ดันทุกเคส | โอ๊ด-อาร์ต โฮมคาร์

เลขที่ 249 หมู่ 5 ถ.ข้าวหลาม ต.ห้วยกะปิ อ.เมือง ชลบุรี 20130 เปิดแผนที่นำทาง
โทร: 094-999-1941   ไลน์: @OatArtHomeCar

https://www.high-endrolex.com/48